CFO (Carbon Footprint for Organization) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร คือ

Carbon Footprint for Organization (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร) คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่ถูกปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีการจัดทำขึ้นภายในองค์กร ทั้งการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสียและการขนส่ง ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ที่นับวันปัญหาดังกล่าวได้มีการทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้หลายๆประเทศทั่วโลกมีการตื่นตัวในการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กรมากขึ้น

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซมีเทน ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์

ซึ่งคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท เป็น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

ในบทความนี้ ADD (Asia Data Destruction) จะพามาทำความรู้จักกับ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรเข้าใจความหมาย ขั้นตอนการทำงานและวิธีการประเมินเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรมากขึ้น

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization)

เป็นการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้นำมาใช้เพื่อประเมินในการหาค่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการดำเนินงานขององค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสียและการขนส่ง 

นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จากการดำเนินกิจกรรม ทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และยังช่วยให้การเตรียมความพร้อมในการจัดทำรายงานและการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น

มีขอบเขตการวัด (SCOPE) 3 แบบ ดังนี้
  • SCOPE I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
  • SCOPE II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) เช่น การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนและพลังงานไอน้ำ เป็นต้น
  • SCOPE III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของการทำ CFO (Carbon Footprint for Organization)
  • ภาคธุรกิจ: สามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และหาแนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ อาจนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตหรือทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรอื่นๆ ได้
  • ภาครัฐ: ใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการบริหารจัดการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

นอกจากนี้ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดก๊าซปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้เช่นกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่  เกี่ยวกับวิธีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

แหล่งที่มา: การท่าเรือแห่งประเทศไทย

You May Also Like