เทคโนโลยี “Big Data Analytics หรือการวิเคราะห์ฐานข้อมูลของผู้บริโภค” ในปัจจุบันที่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ต่อการทำการตลาดโนโลกของธุรกิจ ทำให้เกิด “Data-Driven Marketing การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของผู้บริโภค”
โดยหนึ่งในการทำการตลาดที่พบเห็นมากที่สุด คือ การได้รับข้อความโปรโมทสินค้าหรือบริการ, การพบเห็นโฆษณาบนช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, IG และ Twitter เป็นต้น
แล้วเคยสงสัยกันไหมล่ะว่าธุรกิจเหล่านี้ไปได้ข้อมูลส่วนตัวของเรามาจากไหน
ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทร, ข้อมูลหรือช่องทางการติดต่อเรา และรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึก เช่น ความชอบหรือความสนใจ
ซึ่งการได้มาของข้อมูลผู้บริโภคในปัจจุบันไม่ได้ยากอย่างที่คิด ส่งผลให้ การทำการตลาดมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น องค์กร หรือธุรกิจต่างๆ ต่างก็หันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลของผู้บริโภคจนต้องมีการเก็บข้อมูลของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการใช้งาน, ประวัติการใช้สินค้า หรือบริการ, ความชอบ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้สื่อ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนทำการตลาด ให้กับธุรกิจและกำหนดทิศทางที่เหมาะสมให้กับธุรกิจต่อไป
แล้วสำหรับธุรกิจน้องใหม่ที่ยังไม่มีฐานลูกค้าหล่ะ ?
ธุรกิจเหล่านี้เอาข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจากไหนมาทำการตลาด ?
ในสังคมที่การสื่อสารส่วนใหญ่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ข้อมูลของเราอยู่บนอินเตอร์เน็ตด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่กรอกลงบน Facebook เพื่อทำการลงทะเบียน, การแชร์ภาพบน Instagram หรือข้อมูลการเช็คอินบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ ที่เราแชร์บนโลกออนไลน์มีค่าอย่างมากสำหรับนักวิชาการ นักการตลาด นักกฎหมาย และคนที่หาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลนี้
ซึ่งไม่ใช่แค่ในต่างประเทศที่มีการซื้อขายข้อมูลของผู้บริโภคให้เห็น แต่ในประเทศไทยเอง ก็มีบริษัทที่ทำธุรกิจซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลของคนจำนวนมากให้กับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน โดยมีทั้งการได้มาของข้อมูลที่ถูกกฎหมาย และการได้มาของข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีข่าวการโจรกรมมข้อมูลเพื่อซื้อขายบนตลาดมืดอยู๋ไม่น้อยครั้ง
โดยบริษัทที่ขายข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า Data Broker มีการเก็บข้อมูลของกลุ่มบุคคลเป้าหมายจากโลกอินเทอร์เน็ต รวมไปถึง ข้อมูลจากออฟไลน์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเชิงพาณิชย์ หรือเชิงกฎหมาย
ประเภทของ Data Broker
- นายหน้าข้อมูลสำหรับการตลาดและการโฆษณา
เน้นการสร้างฐานข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อใช้สำหรับการโฆษณาและการตลาดที่ตรงเป้าหมาย ประกอบด้วยอายุ ที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา รายได้ ประวัติการใช้เว็บ ประวัติการซื้อ และความสนใจ เป็นต้น - นายหน้าข้อมูลตรวจจับการฉ้อโกง
เป็นบริการที่ธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมักเลือกใช้ เพื่อตรวจสอบก่อนอนุมัติห้เงินกู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และลดความเสี่ยงในการให้เงินกู้แก่ผู้ฉ้อโกง - นายหน้าข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยง
สามารถใช้ประวัติการค้นหาเพื่อให้องค์กรธุรกิจเสนอสินเชื่อดอกเบี้ยสูง (ความเสี่ยงสูง) แทนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ปลอดภัย) ให้กับผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ประวัติการซื้อผลิตภัณฑ์ฟุ่มเฟือยผ่านบัตรเครดิตทางออนไลน์เป็นประจำอาจบ่งบอกว่าบุคคลนั้นมีหนี้สินจำนวนมาก เป็นต้น - Search Sites
ช่วยให้องค์กรและบริษัทสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลโดยการค้นหาชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขประกันสังคม
ข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้างที่ Data Broker ต้องการ ?
Data Broker เปรียบเสมือนพ่อค้าคนกลาง ที่มีการจัดซื้อ จัดหาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็นผู้เก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายเอง ทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อนำมาขายให้กับองค์กรหรือธุรกิจต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ทางการตลาด โดยข้อมูลหลักๆ ที่เป็นที่สนใจสำหรับเหล่า Data Broker คือ
- ชื่อ – นามสกุล
- ที่อยู่อาศัย
- หมายเลขโทรศัพท์
- อายุ
- เพศ
- อีเมล
- หมายเลขประกันสังคม
- ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
- รายได้
- การศึกษา
- อาชีพ
Data Broker เก็บข้อมูลผู้บริโภคจากที่ไหนได้บ้าง ?
- คุ้กกี้ทั่วไป (Traditional Cookies)
- ซุปเปอร์คุ้กกี้ (Super Cookies)
- ฟิงเกอร์ปรินเตอร์
- แทรกเกอร์เพื่อการยืนยันตัวตน
- คุ้กกี้ที่ถูกใช้งานเป็นช่วง ๆ
- สคริปต์เล่นซ้ำ (Session-replay Scripts)
แหล่งที่มา: Data Broker เก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากที่ไหน
Asia Data Destruction เป็นหน่วยงานที่ได้รับรองตามมาตรฐานจากหน่วยงานระดับสากล เป็นที่หนึ่งด้านการทำลายข้อมูลที่ถูกต้อง และปลอดภัยของประเทศไทย
ด้วยประสบการณ์กว่า 14 ปี ในด้านการทำลายข้อมูลเฉพาะด้าน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพที่ได้ให้บริการลูกค้ามาแล้วกว่า 500 บริษัททั่วโลก
เราเป็นหนึ่งในตัวช่วยด้านการจัดการข้อมูลอย่างถูกวิธี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของคุณจะไม่สามารถกู้กลับคืนมาเพื่อใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจได้